ระบบ Price Actionการดูกราฟราคาแบบไม่ใช้ Indicator หรือเครื่องมือวิเคราะห์ช่วย จะอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาของคู่สกุลเงิน
ต้นกำเนิดของวิธีการนี้เริ่มต้นยุครุ่งเรืองของ Charles Dow – ผู้ก่อตั้งการวิเคราะห์ทางเทคนิค ตามเขาได้กล่าวไว้ ราคาจะมีทั้งข้อมูลที่จำเป็นและ ข้อเท็จจริงพื้นฐานทั้งหมด ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในตลาดจะถูกซ่อนอยู่ในราคา ดังนั้น Price Action จึงแสดงถึงสาระสำคัญของการเคลื่อนไหวของราคา หากคุณรู้วิธีการที่ถูกต้อง คุณไม่จำเป็นต้องเข้าใจ การคำนวณที่ซับซ้อนและอ่านข่าวเป็นพันๆเรื่อง ราคาจะแสดงทุกสิ่งให้คุณเห็น ดังนั้นข้อได้เปรียบหลักของ price action คือ เทรดเดอร์จะไม่ต้องเอาข้อมูลที่ไม่จำเป็นมาใส่หัว และเกิดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาด
สรุปในบทนำของเราคือเราสามารถเน้นเหตุผลหลัก สามประการที่ทำให้ price action มีความน่าสนใจ ต่อเทรดเดอร์:
มันเป็นสากล;
มันค่อนข้างง่าย;
มันเป็นที่นิยมมากๆ
ในการเทรดระบบ price action คุณจำเป็นต้องรู้ วิธีวาดเส้นแนวโน้ม, ระบุระดับแนวรับและแนวต้าน, และทำความคุ้นเคยกับรูปแบบแท่งเทียน
ลักษณะต่าง ๆ ของ Price action
Up bar: หรือก็คือ “Bullish bar” ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อราคามีแนวโน้มขาขึ้น (Demand ซื้อมากกว่า Supply ขาย) จึงมีจุดสูงสุดของแท่ง (High) และ จุดต่ำสุดของแท่ง (Low) สูงกว่าแท่งก่อนหน้า โดยทั่วไปแล้วจะเป็น bar หรือ candlestick (แท่งเทียน) สีเขียว ๆ (Close Price สูงกว่า Open Price) แต่ก็ไม่เสมอไปเพราะบางทีอาจจะพบแท่ง Up bar สีแดง (Close Price ต่ำกว่า Open Price) ได้เช่นกันตราบใดที่ High และ Low สูงกว่าแท่งก่อน ๆ
Down bar: หรือก็คือ “Bearish bar” ซึ่งชื่อก็บอกแล้วว่า Down มันจึงตรงข้ามกับ Up bar เป็น bar หรือ candlestick ที่มี High และ Low ต่ำกว่าแท่งก่อนหน้า ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงกราฟราคาขาลง (Supply ขาย มากกว่า Demand ซื้อ) และโดยทั่วไปแล้วจะพบ bar หรือ candlestick สีแดง (Close Price ต่ำกว่า Open Price) แต่ก็ไม่เสมอไปเพราะในบางครั้งอาจพบแท่ง Down bar สีเขียวก็เป็นได้ ตราบใดที่ High และ Low ยังเตี้ยกว่าแท่งก่อนหน้านั่นเอง
Inside bar: หรือบางคนอาจจะเรียกว่า “Narrow range bar” ซึ่งเจ้า bar ตัวนี้จะมีขนาดเล็กมากและมีลักษณะเหมือนอยู่ภายในขอบเขตของแท่งก่อนหน้า จึงเรียกว่า inside bar หรือในทางทฤษฎีก็คือมันมีจุดสูงสุดของแท่ง (High) ต่ำกว่าแทงก่อนหน้า และจุดต่ำสุดของแท่ง (Low) สูงกว่าแท่งเทียนหน้า โดยแท่งนี้แสดงทิศทางที่ไม่แน่นอนของตลาด ยังไม่ชัวร์ว่าจะขึ้นหรือลง
Outside bar: หรือบางคนเรียกว่า “Mother bar” หรือจะเรียก Wide range bar ก็ได้ แน่นอนมี Inside ก็ต้องมี Outside มันคือลักษณะ candlestick ที่ตรงข้ามกับ inside bar คือมี High สูงกว่าแท่งก่อนหน้า แต่มี Low ต่ำกว่าแท่งข้างหน้า แสดงถึงแนวโน้มที่มีกำลังซื้อ/ขายของฝั่งที่มีกำลังสูงกว่า หรืออาจจะเกิดในกรณีที่ Outside bar นั้นคลุมแท่งก่อนหน้า กล่าวคือ Close Price และ Open Price อยู่ครอบแท่งก่อน โดยหาก Close Price เป็นบวก แสดงว่ามีกำลังซื้อมากกว่าขาย แต่ตรงข้ามกันถ้า Close Price เป็นลบครอบแท่งก่อนหน้า แสดงว่ามีกำลังขายมากกว่าซื้อ
ตอนไหนที่ควรพิจารณาเรื่อง Price Action?
หากคุณเป็นเทรดเดอร์รายวันที่มีเป้าหมายอัน ทะเยอทะยานที่ชื่นชอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค และการเทรดตามเทรนด์ ระบบการซื้อขายนี้จะ เหมาะกับคุณ คุณจะไม่ต้องวุ่นวายกับสัญญานรบกวนเล็กๆน้อยๆ ที่ไม่จำเป็นของตลาดแล้วโฟกัสไปที่ภาพที่ใหญ่ขึ้น
ทำไมเทรดเดอร์ที่ใช้ระบบ price action จึงไม่ใช้ ออสซิลเลเตอร์?
เทรดเดอร์หลายคนเขื่อว่าออสซิลเลเตอร์เป็นเพียง สูตรการวิเคราะห์ราคา คุณไม่ควรตีความสัญญาณของออสซิลเลเตอร์ (เช่น RSI ออกจากโซน overbought/oversold) นั้นเป็นความจริงที่ไม่ต้องสงสัย และมักจะยืนยัน ได้ด้วยข้อเท็จจริงเพิ่มเติม Price action จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถดำเนินการ กับราคาได้ไม่ใช่กับอนุพันธ์ของมัน เมื่อคุณเทรดด้วยระบบ Price Action คุณสามารถ ใช้ออสซิลเลเตอร์บางตัวเป็นตัวกรองได้ แต่อย่าพึ่งพามันทั้งหมด
อัลกอริธึมของ price action
หากคุณรูู้เรื่องของ price action คุณสามารถจัดการ กับทุกการเปลี่ยนแปลงของราคาใกล้ระดับสำคัญได้ ลองพิจารณาขั้นตอนต่างๆที่คุณต้องทำก่อนเข้าสู่ เกม price action
1. คุณต้องระบุระดับแนวรับและแนวต้าน
นี่เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการ เชี่ยวชาญเรื่อง price action หากคุณเทรดในกรอบเวลา H1 ให้ใช้ H4 หรือรายวัน ในการระบุระดับหลัก คุณต้องลากเส้นระหว่างจุดบนแผนภูมิของคุณ ตรงบริเวณที่ราคาเกิดการเปลี่ยนทิศทางหรือหยุด เกือบทุกครั้ง
ตัวอย่างเช่น ลองใช้กราฟรายวันของ NZD/USD แล้วค้นหาแนวรับและแนวต้านที่สำคัญที่สุด อย่าวางหลายเส้นเกินไป วางเฉพาะแนวที่สำคัญที่สุด หลังจากทำเครื่องหมายระดับที่สำคัญที่สุดใน กรอบเวลาที่ใหญ่กว่าแล้ว ให้คุณเปลี่ยนไปที่ กรอบราคาที่เล็กลง (H1) แล้วลากเส้นแนวนอน ผ่านจุดสำคัญอีกครั้ง เราขอแนะนำให้คุณใช้อีกสีสำหรับเส้นนี้
2. อันดับต่อมา คุณจะต้องหาจุดเข้าของคุณ
ตรงนี้คุณต้องจำรูปแบบ การกลับตัว และ ความต่อเนื่อง ของแท่งเทียนได้ คุณสามารถค้นหารูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดได้ ในหนังสือคู่มือของ FBS ในช่วงแรกๆมันยากที่จะหาเจอได้ในทันที ดังนั้นเราขอแนะนำให้คุณพิมพ์บทความนี้ออกมา แล้วฝึกสายตาของคุณ หากรูปแบบบางส่วนปรากฏใกล้ระดับที่ทำเครื่องหมายไว้ – ให้เตรียมเข้าซื้อหรือเข้าขายโดยขึ้นอยู่กับว่ามันเป็น รูปแบบอะไร หากคุณยังสงสัย ก็ให้ใช้ออสซิลเลเตอร์เพื่อยืนยัน
3. อันดับสุดท้าย อย่าลืมวางระดับ stop loss และ take profit
เมื่อคุณเทรดด้วยระบบ Price Action คุณจะต้องวาง Stop Loss ห่างออกไป 3-4 เท่าจากรูปแบบแท่งเทียน ที่คุณเข้า ส่วนจุด take profit ควรวางไว้ที่ระดับแนวรับ/แนวต้าน สำคัญถัดไป